เมนู

พระลักษณะของพระเจ้ามิลินท์นั้น ปรากฏตามมิลินทปัญหาว่าประกอบด้วยพระ
พลังทางกาย พระพลังทางความคิด ด้วยความกล้าหาญ ด้วยปัญญา พระเจ้ามิลินท์นั้น ทรงมั่งคั่ง
บริบูรณ์ด้วยราชสมบัติ, มีพระราชทรัพย์และเครื่องราชูปโภคเป็นอันมากพ้นที่จะนับคณนา มี
พลพาหนะหาที่สุดมิได้ (1)
สำหรับประวัติของนาคเสนนั้น มิลินทปัญหาฉบับภาษาจีน กล่าวว่า มาตุภูมิของ
พระนาคเสน คือ แคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งเป็นศูนย์กลางนิกายสรวาสติวาท ส่วนฉบับ
ภาษาบาลีกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองคะชังคละ ซึ่งเป็นเมืองทางการค้าขาย ทางชายแดนตอนเหนือ
ของมัชฌิมประเทศ พระนาคเสนนั้นปรากฏว่า เป็นผู้ฉลาดสามารถเป็นนักพูดและคงแก่เรียน
เป็นคลังแห่งข้ออุปมาที่สามารถนำเอามาใช้ได้ตามต้องการ และมีความสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ
ก็คือ สามารถเรียนพระอภิธรรมได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยการฟังอธิบายของอาจารย์เพียงครั้ง
เดียวเท่านั้น ในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงพระนาคเสนว่า เป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้น
องค์หนึ่ง และสำเร็จลงด้วยอำนาจของเทพดา และอิทธิฤทธิ์ของพระแก้วมรกต และกล่าวถึง
พระธัมมรักขิต อาจารย์ของพระนาคเสนว่า อยู่ที่ปุปผวดี ในเมืองปาฏลีบุตร ในอรรถกถา
ืทีฆนิกายและอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ก็ปรากฏชื่อของอัสสคุตตเถระด้วยและได้รับยกย่อง
ให้เป็นตัวอย่างของกัลยาณมิตร ด้วย (2)
ส่วนนายเบอร์นอฟ (Burnouf) ได้อ้างหลักฐานทางธิเบตกล่าวว่า พระนาคเสนองค์นี้
คือ องค์เดียวกับพระนาคเสนที่ทำให้เกิดมีการแยกนิกายต่างๆ ออกไปเมื่อ 137 ปี หลัง
พุทธปรินิพพาน โดยอ้างว่า พระนาคเสนได้แสดงความคิดเห็นอภิธรรมโกสะ วยาขยาอันเป็น
คัมภีร์สำคัญคัมภีรหนึ่งไว้อย่างยืดยาว ส่วนศาสตราจารย์ เคิร์น (Kern) แห่งลีเด็น (Lieden)นั้น
ไม่เชื่อว่า พระนาคเสนจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และไม่เชื่อแม้กระทั่งว่า ในพระพุทธศาสนา
จะมีพระภิกษุที่มีชื่ออย่างนี้อยู่ด้วย เขาเชื่อว่า พระนาคเสนนั้นเป็นเช่นเดียวกับ ปตัญชลีฤๅษี ผู้
รจนาคัมภีร์ปรัชญาฝ่ายโยคะ ซึ่งไม่มีตัวตนอยู่จริง ทั้งยังมีสมญานามอื่น ๆ อีกด้วย คือ นาเคศะ
และผณิน แต่ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของทั้งสองท่านดังกล่าวมานี้ (3)
มิลินทปัญหา ฉบับภาษาบาลีนั้น เท่าที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ก็มีฉบับอักษรสิงหล อักษร
โรมัน อักษรไทย อักษรพม่า และอักษรขอม หรือเขมร ฉบับหลัง ๆ นี้ก็เชื่อแน่ว่าได้มาจาก

(1) มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏ ฯ หน้า 5
(2) Milinda's Questions, Vol. 1 p. xxvii
(3) Sacred Book of the East Vol. xxxv, p. xxvi"

ฉบับอักษรสิงหลนั้น แต่ปรากฏว่า แต่ละฉบับก็มีวิธีจักระเบียบเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน และมี
้ข้อความบางตอนแปลกกันออกไปบ้าง เช่น ฉบับอักษรโรมันต่างกับ ฉบับอักษรไทย ทั้งทางการ
จัดระเบียบ และข้อความบางตอนเป็นต้น การที่แปลกกันออกไปนั้น บางท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า
อาจถูกเปลี่ยนโดยผู้คัดลอกทางยุโรธ หรือผู้คัดลอกทางพม่า ลังกา ไทย ก็ได้ หรือไม่ก็เปลี่ยน
แปลงตั้งแต่คราวแปลจากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีแล้ว
ต่อมาได้มีผู้ค้นพบว่า มีมิลินทปัญหาฉบับแปละเป็นภาษาจีนด้วย โดยแปลออกจาก
ภาษาท้องถิ่นของอินเดีย และแปลถึง 3 คราว คือ ในคริสตศววรรษที่ 3 ที่ 4 และที่ 5
บรรดาฉบับที่แปลเป็นภาษาจีนเหล่านี้ ฉบับที่แปลครั้งที่ 2 (คือที่แปลในศตวรรษที่ 4) เท่านั้น
ที่ยังเหลือตกทอดมาถึงพวกเรา โดยเรียกว่า นาคเสนภิกษุสูตร (นาเสียนปีคิว) ตอนที่ 2-3
และบางส่วนของตอนที่ 1 เท่านั้นที่ตรงกับฉบับภาษาบาลี สำหรับตอนที่ 4 ถึง 7 นั้น เพิ่ม
เข้ามาใหม่ในลังกา โดยเฉพาะตอนที่ 4 นั้น ได้มีขึ้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ 5 แล้ว และ
เนื่องจากความที่ไม่เหมือนกันนี้เอง ก็เป็นหลักฐานพอที่จะกล่าวได้ว่า มิลินทปัญหาอันยืดยาว
และมีชื่อเสียงนั้น ได้ถูกเพิ่มเติมเนื้อหาเข้ามาอีกในภายหลัง ซึ่งอย่างน้อยก็ส่วนที่จัดระเบียบไว้
ไม่เหมือกันในฉบับต่าง ๆ (1)
เกี่ยวกับฉบับแปลเป็นภาษาจีนนั้น ศาสตราจารย์ปอล เดอมีวิลล์ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้แปล
มิลินทปัญหาเป็นภาษาฝรั่งเศสกล่าวว่า เป็นที่เชื่อกันว่า ท่านคุณภัทร (พ.ศ 394-468) ชาว
อินเดีย(2) ได้นำเอามิลินทปัญหาเข้าไปในประเทศจีน โดยได้ฉบับไปจากประเทศลังกา และ
ปรากฏว่ามิลินทปัญหาภาคภาษาจีนนั้น มีอยู่ถึง 11 สำนวน ซึ่งคงจะได้แปลกันมาตั้งแต่
ระหว่าง คริตศวรรษที่ 6-13 (ราว พ.ศ. 1000-1800) และคงแปลจากต้นฉบับที่เป็น
ภาษาสันสกฤต เพราะจีนแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนจากต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤต อัน
เป็นที่นิยมใช้กันในอินเดียเหนือและเอเซียกลางซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกาย
สรวาสติวาท และนิกายธรรมคุปต์ และความจริงก็ปรากฏว่าคัมภีร์พระพุทธศาสนาพากย์ภาษา
จีนที่แปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษาบาลีนั้น มีเพียง 2 เรื่องเท่านั้น คือ สมันตปาสาทิกา
อรรถกถาพระวินัย และวิมุตติมัคค์ เท่านั้น อีกประการหนึ่ง เมื่อนำเอาคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เป็น
ภาษาสันสกฤต บาลี และจีน มาเปรียบเทียบกันแล้ว ก็จะเห็นว่าฉบับที่เป็นภาษาบาลีกันภาษา
จีนนั้นแต่งต่างกันมาก แต่ฉบับภาษาจีนกลับไปเหมือนกันมากที่สุดกับฉบับภาษาสันสฤต
เมื่อนำฉบับภาษาจีน มาเทียบกับฉบับภาษาบาลีแล้ว ปรากฏว่าแตกต่างกันมากจนไม่น่าเชื่อได้

(1) Milinda,s Questions Vol.l,p. xxx-xxi
(2) นักแปลาวอินเดียได้แปลพุทธประวัติเป็นภาษาจีนเรียกว่า โกว ฮู ยิน โก กิง Kwo+Hu-Yin-Ko-King
(Sacred Book of the East Vol. xix, p. xxv).